เมนูขนมไทยชาววัง ขนมกลีบลำดวน พ.ศ. 2477

“ขนมไทย” มีอยู่มากมายหลายอย่าง ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะเด่นของไทยนั้น จะมีรสชาติ หวาน มัน ส่วนผสมหลักของขนมไทยนั้นประกอบไทยด้วย น้ำตาล แป้ง ไข่ กะทิ ส่วนใหญ่ค่อยข้างจะมีรสชาติหวานมัน เนื่องจากน้ำตาลมักใช้น้ำตาลมะพร้าวที่มีกลิ่นหอม ส่วนความมันมักใช้กะทิคั้นสด เน้นเอาหัวๆ เมื่อผสม คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้ว

จึงเป็นขนมไทยนานาชนิด ที่มีเอกลักษณ์ของความหวาน มัน ประกอบกับการตั้งชื่อขนมแต่ละชนิด จะเน้นชื่อที่เป็นมงคลในแบบฉบับของไทยและนอกจากนั้นยังมีขนมไทยชาววังอีกด้วย

ขนมกลีบลำดวน อลัวดอกกุหลาบ
ขนมชาววังจะใช้ความละเมียดละไม ประดิษฐ์ประดอยอยู่หลายขั้นตอน โดยปกติของผู้หญิงสมัยก่อนส่วนใหญ่แล้วจะถูกส่งไปในวัง เพื่อถวายตัวรับใช้เจ้านายในวังตามตำหนักต่าง ๆ เพื่อฝึกฝนงานฝีมือด้านต่าง ๆ เช่น

งานเย็บปักถักร้อย  จัดดอกไม้ ทำอาหาร หากค้นคว้าตามตำราเก่าๆ จะพูดถึงขนมในวังแท้ๆ อยู่ไม่กี่อย่าง และแต่ละอย่างต้องใช้ความละเอียดประณีต

ที่คนสมัยก่อนส่งผู้หญิงไปเรียนในวังนั้นก็เพื่อที่จะให้ได้เรียนรู้และศึกษาเรื่องราวขนมไทยสูตรต้นตำรับชาววัง จากผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะนั้นเอง ขนมไทยมีมากมาย

หลากหลายประเภท แบ่งได้เป็นขนมเปียก ขนมเหลว ขนมแห้ง และขนมแข็ง สำหรับขนมเหลวจะเป็นขนมที่กินกับน้ำกะทิหรือประเภทลอยแก้ว เช่น ลอดช่อง ซ่าหริ่ม ลูก

ตาลลอยแก้วขนมบางอย่างนั้นมีวิธีทำที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน ขนมบางประเภทต้องอบจนกรอบ บ้างก็นำไปกวน บ้างก็นำไปผัดจนแห้งแล้วค่อยนำมาปั้นก็จะ

เป็น ขนมทองเอก ขนมทองม้วน ขนมผิง และขนมบางอย่างจะมีลักษณะแข็งกึ่งแห้งกึ่งเปียก ก็ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมถ้วย ขนมชั้น ขนมเปียกปูนเป็นต้นซึ่งจะจับตัวเป็นก้อน

แต่ไม่เหลวเยิ้ม และด้วยภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนนั้นได้คิดในเรื่องของการถนอมอาหารได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็ทำได้หลากหลายวิธีด้วย การตาก กวน แช่อิ่ม การเชื่อม และ

ฉาบ เช่น การทำกล้วยตาก การกวนผลไม้ที่ไม่เหมาะที่จะตากก็นำมากวนแทน เช่น ทุเรียนกวน มะม่วงกวน  ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวก็มักนำมาแช่อิ่ม แล้วอีกวิธีหนึ่งที่เห็นได้บ่อย

ก็คือการเชื่อม ซึ่งการถนอมผลไม้เหล่านี้จึงทำให้เกิดเป็นขนมไทยต่าง ๆได้อีกหลากหลายเลยทีเดียว

ขนมกลีบลำดวน

คุณรู้หรือไม่ว่าขนมแบบชาวบ้านกับขนมกลีบลำดวนชาววังนั้นมีความแตกต่างกันก็คือขนมชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นขนมที่นำพืชผลตามฤดูกาลมาทำ คนทำก็ไม่ต้องมีฝีมือมากนัก

เป็นขนมที่ทำง่ายๆ อาศัยรสมือหยิบจับดัดแปลงผสมจนเข้ากัน ซึ่งวัตถุดิบโดยมากเป็นผลไม้ที่หาได้ตามฤดูกาล ส่วนใหญ่เน้นทำกินเองในบ้านและหาซื้อกินได้ง่าย หาได้

ตามฤดูกาล ชาวบ้านมักหาวัตถุดิบใกล้ตัวอย่างข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมาทำเป็นขนมง่ายๆ โดยนำมาผสมกับมะพร้าว น้ำตาล แป้ง เป็นขนมนานาชนิดเช่นขนมเปียกปูน

ข้าวเม่าทอด ขนมกล้วย ขนมมัน ข้าวเม่าคลุก ขนมจาก ข้าวเหนียว ขนมเรไร ขนมขี้หนู ถั่วแปบ ตะโก้ และหากผลไม้กินไม่ทันก็จะนำไปผ่านวิธีการถนอมอาหารต่าง ๆที่ได้

กล่าวมาข้างต้นแล้ว เพื่อช่วยให้อาหารนั้นยังคงสามารถทานได้นานยิ่งขึ้นไปอีก แต่หากเป็นอาหารชาววังจะต้องอาศัยความพิถีพิถัน ละเอียดอ่อน ความประณีตและต้อง

อาศัยศิลปะในการทำสูงกว่าจะได้ขนมแต่ละอย่างต้องอาศัยเวลาและขั้นตอนการทำที่ค่อนข้างยุ่งยากกว่าซึ่งขนมชาววังนั้นส่วนใหญ่จะใช้ในพิธีมงคลต่าง ๆ หน้าตาของ
ขนมชาววังนั้นมีหน้าตาหน้ารับประทาน สีสันสวย รสชาติอร่อยกลมกล่อมเป็นอย่างมากได้แก่ขนมบุหลันดั้นเมฆ ขนมกลีบลำดวน ขนมสัมปันนี เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นมรดกอัน

ล้ำค่าอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นแล้วเราควรจะช่วยกันรักษาและช่วยกันสืบทอดความรู้ สืบทอดศิลปะวัฒนธรรมไทยของเราส่งต่อรุ่นสู่รุ่น และ

ปลูกจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่ได้รู้ถึงความสำคัญและอนุรักษ์ความเป็นไทยให้อยู่ไปจนตราบนานเท่านาน